เขตอำนาจ : น่านน้ำอาณาเขต
แนวน้ำที่อยู่ประชิดกับชายฝั่งของรัฐ ซึ่งรัฐนั้นใช้อำนาจอธิปไตยเหนือน่านน้ำอาณาเขตกว้าง 3 ไมล์ เป็นพิกัดขั้นต่ำสุดที่ได้รับการรับรองโดยรัฐต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ยังไม่มีการยอมรับโดยทั่วไปในพิกัดสูงสุด มีรัฐจำนวนหนึ่งอ้างเขตอำนาจเหนือน่านน้ำอาณาเขตกว้าง 12 ไมล์ และมีบางรัฐอีกเหมือนกันอ้างเขตอำนาจเหนือน่านน้ำอาณาเขตกว้าง 200 ไมล์ สนธิสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเลปี ค.ศ. 1982 ได้กำหนดให้รัฐชายฝั่งมีเขตอำนาจเหนือน่านน้ำอาณาเขต 12 ไมล์ แต่ก็ยังมีหลายรัฐไม่ยอมให้สัตยาบันสนธิสัญญาฉบับนี้
ความสำคัญ เขตน่านน้ำอาณาเขตควรจะเป็นเท่าใดมักเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในประชาคมระหว่างประเทศ เขตน่านน้ำในพิกัดขั้นต่ำสุด 3 ไมล์ได้รับการยอมรับในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 ว่าเป็นพิกัดที่อำนาจการยิงของปืนใหญ่ที่ยิงจากชายฝั่งสามารถไปได้ถึง ที่อ้างสิทธิเหนือน่านน้ำอาณาเขตมีพิกัดกว้างไกลไปกว่านี้นั้น ก็มักจะเกี่ยว ข้องกับเรื่องทางการเมืองหรือทางยุทธศาสตร์ หรือเพราะว่าเป็นแหล่งทรัพยากรบางอย่าง เช่น แหล่งประมงหรือแหล่งน้ำมัน เป็นต้น ที่รัฐชายฝั่งต้องการจะมีเขตอำนาจทางดินแดนเหนือแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเอง ถึงแม้ว่าการประชุมที่เจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล (ปี ค.ศ. 1958 และ ปี ค.ศ. 1960) จะก่อให้เกิดอนุสัญญาต่าง ๆ ที่ว่าด้วยทะเลหลวง ว่าด้วยไหล่ทวีป ว่าด้วยการอนุรักษ์แหล่งประมง และว่าด้วยน่านน้ำอาณาเขต (หลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้) แต่การประชุมดังกล่าวก็ไม่สามารถสร้างมติด้วยคะแนนเสียงสองในสามที่จำเป็นสำหรับการที่จะกำหนดพิกัดของน่านน้ำอาณาเขตให้เป็นแบบเดียวกันได้
แนวน้ำที่อยู่ประชิดกับชายฝั่งของรัฐ ซึ่งรัฐนั้นใช้อำนาจอธิปไตยเหนือน่านน้ำอาณาเขตกว้าง 3 ไมล์ เป็นพิกัดขั้นต่ำสุดที่ได้รับการรับรองโดยรัฐต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ยังไม่มีการยอมรับโดยทั่วไปในพิกัดสูงสุด มีรัฐจำนวนหนึ่งอ้างเขตอำนาจเหนือน่านน้ำอาณาเขตกว้าง 12 ไมล์ และมีบางรัฐอีกเหมือนกันอ้างเขตอำนาจเหนือน่านน้ำอาณาเขตกว้าง 200 ไมล์ สนธิสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเลปี ค.ศ. 1982 ได้กำหนดให้รัฐชายฝั่งมีเขตอำนาจเหนือน่านน้ำอาณาเขต 12 ไมล์ แต่ก็ยังมีหลายรัฐไม่ยอมให้สัตยาบันสนธิสัญญาฉบับนี้
ความสำคัญ เขตน่านน้ำอาณาเขตควรจะเป็นเท่าใดมักเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในประชาคมระหว่างประเทศ เขตน่านน้ำในพิกัดขั้นต่ำสุด 3 ไมล์ได้รับการยอมรับในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 ว่าเป็นพิกัดที่อำนาจการยิงของปืนใหญ่ที่ยิงจากชายฝั่งสามารถไปได้ถึง ที่อ้างสิทธิเหนือน่านน้ำอาณาเขตมีพิกัดกว้างไกลไปกว่านี้นั้น ก็มักจะเกี่ยว ข้องกับเรื่องทางการเมืองหรือทางยุทธศาสตร์ หรือเพราะว่าเป็นแหล่งทรัพยากรบางอย่าง เช่น แหล่งประมงหรือแหล่งน้ำมัน เป็นต้น ที่รัฐชายฝั่งต้องการจะมีเขตอำนาจทางดินแดนเหนือแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเอง ถึงแม้ว่าการประชุมที่เจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล (ปี ค.ศ. 1958 และ ปี ค.ศ. 1960) จะก่อให้เกิดอนุสัญญาต่าง ๆ ที่ว่าด้วยทะเลหลวง ว่าด้วยไหล่ทวีป ว่าด้วยการอนุรักษ์แหล่งประมง และว่าด้วยน่านน้ำอาณาเขต (หลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้) แต่การประชุมดังกล่าวก็ไม่สามารถสร้างมติด้วยคะแนนเสียงสองในสามที่จำเป็นสำหรับการที่จะกำหนดพิกัดของน่านน้ำอาณาเขตให้เป็นแบบเดียวกันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น