วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Jus Naturale : จัส เนเจอราล

จัส เนเจอราล (Jus Naturale) คือ  แนวความคิดของพวกสโตอิกกรีก (Greek Stoic)ว่าด้วยหลักการที่ควรนำมาใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ทั้งปวงที่พวกโรมันได้นำมาปรับใช้

จัส เนเจอราล หรือ กฎธรรมชาติ (Natural Law)ได้ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายธรรมชาติของมนุษย์ว่าเป็นสัตว์ที่มีเหตุผลและชอบเข้ารวมกลุ่มเป็นสังคม

หลักเกณฑ์ของเหตุผลอยู่บนรากฐานของสิ่งที่ควรจะเป็น เมื่อผสมผสานกับหลักสากลนิยมของ จัส เจนติอุม(Jus Gentium) แล้ว ทำให้กฎหมายของโรมันมีลักษณะสามารถปรับใช้และมีความก้าวหน้าไม่หยุดอยู่กับที่ ช่วยให้ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติอยู่ร่วมกันโดยสงบสุขได้แม้ว่าเงื่อนไขจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ตาม

ความสำคัญ  แนวความคิดของ จัส เนเจอราล ที่อิงอาศัยเหตุผลและอยู่เหนือพลเมืองและรัฐนี้ ได้มีอิทธิพลต่อครอติอุส (Grotius)และนักกฎหมายระหว่างประเทศยุคต้น ๆ ที่พยายามจะจัดตั้งระบบความสัมพันธ์ที่เรียบร้อยระหว่างรัฐ

หลักการของกฎธรรมชาติที่ยังมีหลักฐานปรากฏให้เห็นในกฎหมายระหว่างประเทศ ก็คือ แนวความคิดเรื่องศีลธรรมระหว่างประเทศ เรื่องความเสมอภาค เรื่องความยุติธรรมและเรื่องเหตุผล

กฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดแนวความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาตินี้ ต่อมาได้ถูกแทนที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยผู้สนับสนุนลัทธิปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย (Legal Positivism)ซึ่งถือว่าจารีตประเพณี การตรากฎหมายและสนธิสัญญาเท่านั้นจึงจะสร้างสิทธิและหน้าที่ให้แก่รัฐที่มีอธิปไตยได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม