วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Arbitration:การอนุญาโตตุลาการ


การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) คือ วิธีดำเนินการระงับข้อพิพาทโดยทางกฎหมายโดยสันติวิธีแบบโบราณ การอนุญาโตตุลาการมีลักษณะสำคัญหลายอย่างดังนี้
1) มีคอมโพรมิส (Compromis) หรือมีข้อตกลงของคู่กรณีเกี่ยวกับกรณีที่จะระงับตลอดจนรายละเอียดของวิธีดำเนินการที่จะนำมาใช้
2) คณะลูกขุนจะถูกเลือกโดยคู่กรณี
3) การตัดสินจะอิงกฎหมายระหว่างประเทศ และ
4) มีการตกลงกันก่อนว่าการตัดสินของศาลจะมีผลผูกพัน

ความสำคัญ การอนุญาโตตุลาการ มีลักษณะเหมือนกับการตัดสินของศาล คือ เป็นเทคนิควิธีทางกฎหมายเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ เป็นวิธีที่แตกต่างจากวิธีการทางการเมืองซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเจรจาทางการทูตต่าง ๆ เช่น การช่วยเป็นสื่อกลาง(Good offices) การไกล่เกลี่ย (Mediation)การสืบสวน (Inquiry) และการประนอม (Conciliation) การอนุญาโตตุลาการอาจจะเป็นการตกลงกันเฉพาะกิจ(ad hoc) หรืออาจจะเป็นการบังคับหากมีสนธิสัญญา(Treaty)ระหว่างคู่กรณีว่าจะต้องใช้วิธีนี้


ประวัติศาสตร์ได้ทำการบันทึกอนุสัญญาอนุญาโตตุลาการแบบทวิภาคี(Bilateral arbitration treaties)หลายฉบับเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ หลากหลาย การประชุมกรุงเฮก(The Hague Conference) ปี ค.ศ. 1899 ได้วางรูปแบบวิธีปฏิบัติโดยจัดตั้งศาลอนุญาโตตุลาการถาวรที่กรุงเฮก (Permanent Court of Arbitration at The Hague)


นอกจากนั้นการอนุญาโตตุลาการนี้ยังถูกระบุไว้ในรายการว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ โดยกติกาสันนิบาตชาติ (Covenant of the League of Nations) (ข้อ 13) และโดยกฎบัตรสหประชาชาติ (Charter of the United Nations) (ข้อ 33)


เมื่อปี ค.ศ. 1970 สหรัฐอเมริกาได้ภาคยานุวัติอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการรับรองและการบังคับใช้คำวินิจฉัยของการตุลาการต่างประเทศ(UN Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awars)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม