เขตอำนาจ:สิทธิในที่ดินซึ่งได้โดยการครอบครองมาเป็นเวลานาน
วิธีที่ได้รับการรับรองในกฎหมายระหว่างประเทศว่า รัฐใดรัฐหนึ่งสามารถได้กรรมสิทธิ์ในดินแดนที่แต่เดิมรัฐอื่นอ้างกรรมสิทธิ์อยู่ก่อนได้โดยการครอบครองติดต่อกันเป็นเวลานาน และการที่องค์อธิปัตย์เดิมนิ่งเฉยเสียนานโดยที่ไม่ยอมคัดค้านต่อการใช้เขตอำนาจของรัฐอื่น ก็เป็นมูลเหตุให้เกิดการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ของดินแดนนั้นได้
ความสำคัญ สิทธิในดินแดนซึ่งได้มาโดยการครอบครองเป็นเวลานานนี้ จะสร้างกรรมสิทธิ์ให้แก่รัฐใดรัฐหนึ่งได้ก็ต่อเมื่ออธิปไตยเหนือดินแดนนั้น ได้เคยอยู่กับรัฐอื่นมาก่อน หากไม่มีองค์อธิปัตย์เคยอยู่ในดินแดนนั้นมาก่อน กรรมสิทธิ์ในดินแดนนั้นจะได้มาโดย “การค้นพบ” จากแนวความคิดในเรื่องสิทธิในดินแดนซึ่งได้มาโดยการครอบครองมาเป็นเวลานานนี้ แสดงให้เห็นว่า เพียงมีกรรมสิทธิ์อย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอที่จะคงดินแดนนั้นไว้กับตนได้ จะต้องมีการกระทำควบคู่ไปกับการใช้เขตอำนาจเหนือดินแดนนั้นอย่างมีประสิทธิผล กฎหมายระหว่างประเทศมิได้ระบุห้วงเวลาไว้เป็นการแน่นอนว่าเมื่อใดกรรมสิทธิ์ในดินแดนจะถ่ายโอนไปเป็นของรัฐที่มาใช้ประโยชน์ในดินแดนนั้นอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เมื่อการอ้างกรรมสิทธิ์ในดินแดนโดยการครอบครองเป็นเวลานานถูกนำไปให้ศาลหรืออนุญาโตตุลาการตัดสิน แต่ละคดีก็จะถูกตัดสินโดยเที่ยงธรรมโดยอิงหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น การอนุญาโตตุลาการเกาะพาลมัส (ค.ศ. 1928) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับเนเธอร์แลนด์ ได้ตัดสินให้การรับรองกรรมสิทธ์ในดินแดนแห่งนั้นของเนเธอร์แลนด์โดยอิงหลักการใช้เขตอำนาจอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายมานาน
วิธีที่ได้รับการรับรองในกฎหมายระหว่างประเทศว่า รัฐใดรัฐหนึ่งสามารถได้กรรมสิทธิ์ในดินแดนที่แต่เดิมรัฐอื่นอ้างกรรมสิทธิ์อยู่ก่อนได้โดยการครอบครองติดต่อกันเป็นเวลานาน และการที่องค์อธิปัตย์เดิมนิ่งเฉยเสียนานโดยที่ไม่ยอมคัดค้านต่อการใช้เขตอำนาจของรัฐอื่น ก็เป็นมูลเหตุให้เกิดการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ของดินแดนนั้นได้
ความสำคัญ สิทธิในดินแดนซึ่งได้มาโดยการครอบครองเป็นเวลานานนี้ จะสร้างกรรมสิทธิ์ให้แก่รัฐใดรัฐหนึ่งได้ก็ต่อเมื่ออธิปไตยเหนือดินแดนนั้น ได้เคยอยู่กับรัฐอื่นมาก่อน หากไม่มีองค์อธิปัตย์เคยอยู่ในดินแดนนั้นมาก่อน กรรมสิทธิ์ในดินแดนนั้นจะได้มาโดย “การค้นพบ” จากแนวความคิดในเรื่องสิทธิในดินแดนซึ่งได้มาโดยการครอบครองมาเป็นเวลานานนี้ แสดงให้เห็นว่า เพียงมีกรรมสิทธิ์อย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอที่จะคงดินแดนนั้นไว้กับตนได้ จะต้องมีการกระทำควบคู่ไปกับการใช้เขตอำนาจเหนือดินแดนนั้นอย่างมีประสิทธิผล กฎหมายระหว่างประเทศมิได้ระบุห้วงเวลาไว้เป็นการแน่นอนว่าเมื่อใดกรรมสิทธิ์ในดินแดนจะถ่ายโอนไปเป็นของรัฐที่มาใช้ประโยชน์ในดินแดนนั้นอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เมื่อการอ้างกรรมสิทธิ์ในดินแดนโดยการครอบครองเป็นเวลานานถูกนำไปให้ศาลหรืออนุญาโตตุลาการตัดสิน แต่ละคดีก็จะถูกตัดสินโดยเที่ยงธรรมโดยอิงหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น การอนุญาโตตุลาการเกาะพาลมัส (ค.ศ. 1928) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับเนเธอร์แลนด์ ได้ตัดสินให้การรับรองกรรมสิทธ์ในดินแดนแห่งนั้นของเนเธอร์แลนด์โดยอิงหลักการใช้เขตอำนาจอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายมานาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น