วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

Jus Civile: จัส ซีวิล

จัส ซีวิล(Jus Civile) คือ  กฎหมายแพ่งของนครรัฐโรมันสมัยโบราณ ที่นำไปใช้กับพลเมือง(Citizen) ของตนเท่านั้น จัส ซีวิล มีลักษณะตรงข้างกับ จัส เจนติอุม (Jus Gentium) ที่ใช้กับประชาชนต่าง ๆ ของจักรวรรดิโรมัน (Roman Empire)



ความสำคัญ จัส ซีวิล ได้กลายมาเป็นรากฐานอย่างหนึ่งสำหรับการพัฒนาระบบกฎหมายต่าง ๆ ในเวลาต่อมา จัส ซีวิล และ จัส เจนติอุม ของระบบกฎมายโรมัน เป็นบรรทัดฐานและเป็นหลักการเก่าที่ต่อมาได้นำมาใช้ในการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศ (คือ กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยคดีบุคคล กับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยคดีเมือง)

Jus Gentiun :จัส เจนติอุม

จัส เจนติอุม (Jus Gentiun)  คือ ระบบกฎหมายและความเที่ยงธรรม ที่นำไปใช้กับชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักอยู่ในจักรวรรดิโรมัน จัส เจนติอุม จะควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างชาวต่างชาติกับชาวต่างชาติด้วยกัน และระหว่างชาวต่างชาติกับพลเมืองของโรมัน มีรากฐานอยู่บนแนวความคิดร่วมกันเกี่ยวกับความยุติธรมที่มีอยู่ในหลักเกณฑ์และจารีตประเพณีของผู้คนหลากหลายที่มีถิ่นพำนักอยู่ในจักรวรรดิโรมัน ด้วยเหตุที่จัส เจนติอุมนี้คนเห็นว่าเป็นระบบกฎหมายที่ง่ายมีเหตุมีผลและสามารถนำไปดัดแปลงใช้ได้ นักกฎหมายสมัยก่อนจึงถือว่าจัส เจนติอุมสามารถนำไปใช้ในระดับสากลได้

ความสำคัญ จัส เจนติอุม ของโรมันสามารถมองได้ว่าเป็นระบบของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับ จัส เนเจอราล (Jus Naturale) และแนวความคิดของกรีกว่าด้วยกฎธรรมชาติ(Natural Law)และกฎสากล(Universal Law) จัส เจนติอุม ซึ่งอิงอาศัยความเชื่อมโยงสัมพันธ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นแบบอย่างให้แก่กฎหมายระหว่างประเทศสมัยใหม่ในเรื่องต่างๆ เช่น การยึดครองดินแดน สิทธิในทรัพย์สิน สัญญา และสนธิสัญญา เป็นต้น

บทความที่ได้รับความนิยม