วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

International Lawmaking : Law of the Sea

International Lawmaking : Law of the Sea

การบัญญัติกฎหมายระหว่างประเทศ : กฎหมายทะเล

กฎเกณฑ์ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ที่กำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ทางทะเลของรัฐ กฎหมายทะเลซึ่งเป็นสาขาที่เก่าแก่ที่สุดของกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ได้วิวัฒนาการมาจากจรรยาบรรณโบราณที่อิงอาศัยจารีตประเพณีในส่วนที่เกี่ยว ข้องกับสิทธิและหน้าที่ของพ่อค้าและเจ้าของเรือ บรรทัดฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนกฎหมายทะเล ได้แก่ (1) กฎหมายโรเดียน (คริสตศตวรรษที่ 9) (2) ตาบูลา อมัลฟิตานา (คริสตศตวรรณที่ 11) (3) กฎหมายแห่งโอลีรอน (คริสตศตวรรษที่ 12) (4) กฎหมายวิสบี (คริสตศตวรรษที่ 13 และ 14) และ (5) คอนโตดาโตเดล แมเร (คริสตศตวรรษที่ 14) ที่มาของกฎหมายทะเลได้แก่ (1) จารีตประเพณีระหว่างประเทศ (2) การบัญญัติกฎหมายภายในชาติ (3) สนธิสัญญา และ (4) ผลงานของการประชุมระหว่างประเทศด้วยเรื่องเรื่องเหล่านี้

ความสำคัญ กฎหมายทะเลอิงหลักพื้นฐาน 2 หลัก คือ (1) หลักเสรีภาพของทุกรัฐที่จะใช้ทะเลหลวงโดยปราศจากการแทรกแซง และ (2) หลักความรับผิดชอบของแต่ละรัฐที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยทางทะเล แต่ละรัฐมีอำนาจศาลเหนือเรือของตนที่อยู่ภายในน่านน้ำอาณาเขตของตน เรือที่อยู่ในน่านน้ำอาณาเขตของรัฐต่างชาติยังคงอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลของรัฐที่เรือนั้นติดธง เว้นเสียแต่ว่าเรือนั้นจะคุกคามความสงบและความเรียบร้อยของรัฏฐาธิปัตย์ชายฝั่ง การประชุมที่เจนีวาปี ค.ศ. 1958 (ยูเอ็นซีแอลโอเอส – วัน) และการประชุมที่เจนีวาปี ค.ศ. 1960 (ยูเอ็นซีแอลโอเอส – ทู) เป็นการเพิ่มเติมกฎหมายทะเลด้วยอนุสัญญาต่าง ๆ คือ (1) อนุสัญญาว่าด้วยการให้นิยามของเส้นฐานที่ใช้วัดทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง (2) อนุสัญญาว่าด้วยการสัญจรผ่านโดยบริสุทธิ์ (3) อนุสัญญาว่าด้วยการสำรวจอาหารและแร่ธาตุจากดินใต้ผิวดินของเขตไหล่ทวีปและ จากท้องทะเล และ (4) อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์ชีวิตสัตว์และพืชในทะเล ส่วนการประชุมกฎหมายระหว่างประเทศระลอกใหม่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1973 ถึง 1982 (ยูเอ็นซีแอลโอเอส – ทรี) ได้มีข้อตกลงต่าง ๆ คือ (1) ข้อตกลงว่าด้วยเขตอำนาจศาลของชาติเหนือทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ (2) ข้อตกลงว่าด้วยสิทธิของรัฐชายฝั่งเหนือเขตเศรษกิจจำเพาะสองร้อยไมล์ (อีอีเอฟ) และ (3) ข้อตกลงว่าด้วยการสัญจรผ่าน สัญจรเหนือ หรือสัญจรใต้ช่องแคบที่ใช้สำหรับการสัญจรระหว่างประเทศ ส่วนเรื่องที่ยังตกลงกันไม่ได้ก็คือ เรื่องที่เกี่ยวกับลักษณะของการควบคุมเหนือการทำเหมืองแร่ในทะเลลึกและการ เข้าไปใช้ทรัพยากรทางทะเลในรูปแบบอื่น ๆ นอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะสองร้อยไมล์ ประเด็นที่ยังตกลงกับยังไม่ได้นี้ได้ผูกโยงไว้กับขอบเขตของอำนาจที่จะมอบให้ แก่องค์การท้องทะเลระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติที่ได้รับการเสนอให้จัดตั้ง ขึ้นมา ซึ่งองค์การฯ นี้จะทำหน้าที่ควบคุมการสำรวจและการเข้าไปใช้ทรัพยากรในทะเลลึก เมื่อสามารถบรรลุข้อตกลงในเรื่องสำคัญต่อไปนี้ได้แล้ว คือ (1) การลงคะแนนเสียง (2) การออกใบอนุญาต และ (3) การเก็บค่าภาคหลวง รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ไม่พอใจกับข้อกำหนดดังกล่าวจึงได้ปฏิเสธอนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเลแห่งสห ประชาชาติปี ค.ศ. 1982

Internatonal Lawmaking : War Crimes Trials

Internatonal Lawmaking : War Crimes Trials

การบัญญัติกฎมายระหว่างประเทศ : การพิจารณาคดีอาชญากรรมสงคราม

การพิจารณาคดีของบุคคลจากรัฐที่แพ้สงครามเพื่อกำหนดโทษและบทลงโทษของบุคคลไม่ ใช่ของชาติในฐานะที่ประกอบอาชญากรรมในระหว่างสงครามหรือในฐานะที่เป็นผู้ก่อ สงคราม สนธิสัญญาแวร์ซายส์หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้วางไว้เป็นบรรทัดฐานกำหนด ให้มีการพิจารณาคดีและทำการลงโทษจักรพรรดิเยอรมันและบุคคลในกองทัพเยอรมัน แต่ฝ่ายพันธมิตรมิได้ดำเนินการพิจารณาคดีแต่อย่างใด หลังสงครามโลกครั้งที่สองอาชญากรสงครามเยอรมันคนสำคัญจำนวน 22 คน ถูกศาลทหารระหว่างประเทศ พิจารณาคดีที่เมืองนูเรมเบิร์ก ซึ่งศาลทหารฯ คณะนี้ประกอบด้วยคณะลูกขุนจากอังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา จำเลยถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐาน (1) ประกอบอาชญากรรมต่อต้านสันติภาพ (2) ประกอบอาชญากรรมสงคราม และ (3) ประกอบอาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ จำเลย 12 คนถูกตัดสินให้ประหารชีวิต 7 คนได้รับโทษจำคุก ส่วนอีก 3 คนพ้นผิด ภายใต้กฏบัตรศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกลนั้นมีอาชญากรสงคราม ญี่ปุ่นคนสำคัญ ๆ ถูกพิจารณาคดีในกรุงโตเกียวด้วยข้อหาทำนองเดียวกับที่นูเรมเบิร์ก โดยคณะลูกขุนที่เป็นตัวแทนของ 11 ประเทศที่ทำสงครามกับญี่ปุ่น

ความสำคัญ
การพิจารณาคดีอาชญากรสงครามที่นูเรมเบิร์กและที่โตเกียว เป็นการเปิดหน้าใหม่ในการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสงคราม ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองนั้นมีกฎหมายจารีต ประเพณีกำหนดไว้ว่า เมื่อสงครามยุติลงแล้วก็ให้ทำการนิรโทษกรรมแก่บุคคลที่เป็นศัตรูทั้งปวงซึ่ง ได้กระทำความผิดเกี่ยวกับการรับราชการทหารของพวกเขาเสีย แต่จากความเหี้ยมโหดของสงครามเบ็ดเสร็จก็ดี และจากความเกลียดชังกันอย่างเข้ากระดูกดำอันเกิดจากความขัดแย้งทางด้าน อุดมการณ์ก็ดี ทำให้มีคนตั้งคำถามขึ้นว่าการให้นิรโทษกรรมนี้จะมีการนำกลับมาใช้กันอีกหรือ ไม่ปฏิกิริยาทางกฎหมายต่อการพิจราณาคดีที่นูเรมเบิร์กและที่โตเกียวมีแตกต่างกันไป การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการตัดสินคดีด้วยข้อหาว่าประกอบอาชาญกรรมสงคราม และข้อหาว่าประกอบอาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาตินั้นมีน้อย เนื่องจากมีกฎหมายจารีตประเพณีได้ให้การรับรองสิทธิของผู้ชนะให้สามารถ พิจารณาลงโทษบุคคลในกองทัพของศัตรูในโทษฐานละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศได้ แต่แนวความคิดที่ว่าจำเลยมีโทษฐานประกอบอาชญากรรมต่อต้านสันติภาพนั้นเป็น การเปิดข้อกล่าวหาใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนหน้านี้ ได้มีการยกประเด็นปัญหาทางกฎหมายขึ้นมาถามในส่วนที่เกี่ยวกับข้อกล่าวหาว่า ประกอบอาชญากรรมต่อต้านสันติภาพดังนี้ (1) เราจะสามารถแสดงข้อแตกต่างระหว่างสงครามรุกรานที่ถือว่าเป็นอาชญากรรม กับอาชญากรรมที่กระทำในช่วงที่เกิดสงครามได้อย่างกระจ่างชัดหรือไม่ (2) กติกาสัญญาเคลลอกก์–บริอังด์ ที่ทำให้สงครามรุกรานเป็นสิ่งผิดกฎหมายนั้นมีความหมายบ่งบอกให้บุคคลต้องรับ ผิดชอบในอาชญากรรมด้วยใช่หรือไม่ (3) ข้อแตกต่างระหว่างสงครามรุกรานกับสงครามป้องกันตัวมีความกระจ่างชัดพอที่จะ นำมาใช้ประเมินความรับผิดชอบทางด้านอาชญากรรมของบุคคลได้หรือไม่ และ (4) ศาลที่เมืองนูเรมเบิร์กซึ่งประกอบด้วยคณะลูกขุนจากแค่ 4 รัฐเท่านั้น จะถือว่าเป็นศาลระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาคมโลกได้หรือ ไม่ สหประชาชาติได้พยายามหาทางสร้างความถูกต้องทางกฎหมายให้แก่หลักการที่ว่า บุคคลจะต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมที่ใช้เป็นรากฐานสำหรับพิจารณาคดี อาชญากรรมสงคราม โดยการพัฒนาหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยอาชญากรรมต่อต้านสันติภาพและต่อ ต้านความมั่นคงของมนุษยชาติขึ้นมา สมัชชาใหญ่ได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (ไอแอลซี) ทำการตระเตรียมร่างหลักการนี้ แต่ปัญหาการพัฒนาคำนิยามของคำว่า “การรุกราน” ให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปก็ได้มาเป็นตัวสกัดกั้นมิให้กระบวนการในเรื่องนี้ คือหน้าต่อไปได้

Jurisdiction

Jurisdiction

เขตอำนาจ

สิทธิของรัฐหรือของศาลที่จะพูดหรือกระทำด้วยอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมาย เขตอำนาจตามกฎหมายจะเกี่ยวข้องกับการอ้างสิทธิเข้าควบคุมบุคคล ทรัพย์สิน คนในบังคับ และสถานการณ์ ในอาณาเขตทางกฎหมาย ทางการเมือง และทางภูมิศาสตร์ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศนั้นเขตอำนาจตามกฎหมายเหนือดินแดนสามารถได้มาโดย วิธี (1) แผ่นดินงอก (2) การยกให้ (3) การพิชิต (4) การค้นพบ และ (5) การครอบครองมาเป็นเวลานาน

ความสำคัญ ในโลกซึ่งประกอบด้วยรัฐที่มีเอกราชและอำนาจอธิปไตยจำนวนมากกว่า 180 ชาตินี้ ก็ย่อมจะมีปัญหาของเขตอำนาจตามกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในรูปแบบของการขัดแย้ง ระหว่างประเทศ การเจรจากัน และการอนุญาตโตตุลาการ การขัดแย้งเกี่ยวกับเขตอำนาจทางกฎหมายระหว่างรัฐมักจะเกี่ยวกับข้องกับ เรื่องต่อไปนี้ (1) ความเป็นพลเมือง (2) เส้นพรมแดน (3) น่านฟ้า (4) ทะเลหลวง (5) สิทธิในการประมง (6) น่านน้ำอาณาเขต (7) การผ่านโดยบริสุทธิ์ และ (8) อวกาศ

Jurisdiction : Accretion

Jurisdiction : Accretion

เขตอำนาจ :ดินแดนงอก

ดินแดนที่ได้เพิ่มขึ้นมาโดยการทับถมของวัตถุใน แม่น้ำหรือในทะเล ซึ่งอาจตกเป็นของรัฐผืนแผ่นดินใหญ่หรือรัฐชายฝั่งก็ได้ หลักการได้ดินแดนงอก กล่าวคือ ดินแดนที่เพิ่มขึ้นโดยธรรมชาติจากดินแดนเดิมให้มาอยู่ภายใต้เขตอำนาจตาม กฎหมายเดียวกันนี้ เป็นหลักการที่มีมาตั้งแต่ยุคกฎหมายโรมันจากผลงานของฮูโก กรอติอุส สิ่งที่เพิ่มมาว่านี้อาจจะงอกขึ้นตามฝั่งแม่น้ำหรือฝั่งมหาสมุทรหรืออาจจะ เป็นเกาะแก่งหรือดินดอนปากแม่น้ำก็ได้

ความสำคัญ การได้ดินแดนเพิ่มโดยการงอกของแผ่นดินนี้ อาจสร้างปัญหาทางการเมืองและทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับเขตอำนาจของกฎหมายเหนือดินแดนได้ ปัญหาเหล่านี้อาจจะหมายถึงการเกิดเกาะในแม่น้ำที่ใช้เป็นเส้นพรมแดนระหว่าง ประเทศ หรือเกิดเกาะหรือดินดอนสามเหลี่ยมในเส้นแนวชายฝั่ง ซึ่งเป็นการขยายน่านน้ำอาณาเขตของรัฐออกไปในมหาสมุทรมากขึ้น

Jurisdiction , Admiralty

Jurisdiction , Admiralty

เขตอำนาจเหนือกิจการพาณิชยนาวี

อำนาจหน้าที่ของรัฐเหนือกิจการพาณิช ยนาวี เขตอำนาจเหนือกิจการพาณิชยนาวีเป็นเขตที่ต้องใช้เทคนิคทางนิติศาสตร์ในระดับ สูงซึ่งมีอยู่ในกฎหมายภายใน จะเกี่ยวกับเรื่องการพาณิชย์และการเดินเรือทางทะเล ตลอดจนการควบคุมเรื่องดังกล่าว กฎหมายการพาณิชยนาวีจะกล่าวถึงเรื่องต่อไปนี้ คือ (1) เขตอำนาจเหนือเรือ เหนือท่าเรือ เหนือกลาสี และเหนือน่านน้ำอาณาเขต (2) การฟ้องร้องทางแพ่งและทางอาญา (3) ทรัพย์ส่วนที่เป็นเรือและส่วนที่เป็นสินค้า (4) การขนส่งผู้โดยสาร (5) สิทธิของสมาชิกลูกเรือ และ (6) การควบคุมดูแลความปลอดภัย

ความสำคัญ เนื่องจากรัฐมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและการค้ากับการพาณิชย์ก็มีความสำคัญเพิ่ม มากขึ้นสำหรับรัฐต่าง ๆ เหล่านี้ ดังนั้นจึงก่อให้เกิดกฎเกณฑ์และข้อบังคับระหว่างประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก มาย เมื่อกฎเกณฑ์และข้อบังคับระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมามากเช่นนี้แล้วรัฐต่าง ๆ ให้การรับรองถึงความจำเป็นว่าจะต้องมีแนวทางปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันมาก ขึ้น ความพยายามที่จะสร้างหลักปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกับของกฎหมายพาณิชยนาวีโดย สนธิสัญญาและการออกกฎหมายลูกต่าง ๆ ได้ประสบความสำเร็จมากพอสมควรในด้านต่าง ๆ คือ (1) ด้านการควบคุมสุขลักษณะ (2) ด้านการกู้ภัยและการให้ความช่วยเหลือ (3) ด้านการโดนกันของเรือ (4) ด้านความปลอดภัยทางทะเล (5) ด้านเส้นขีดเครื่องหมายแนวบรรทุกเต็มที่ (6) ด้านการใช้ท่าเรือพาณิชยนาวี (7) ด้านการประมงในทะเลหลวง และ (8) ด้านทะเลอาณาเขต แต่ถ้าหากไม่มีสนธิสัญญาต่าง ๆ ดังกล่าว เขตอำนาจเหนือการพาณิชยนาวีก็จะถูกกำหนดโดยกฎหมายภายในของรัฐต่าง ๆ

Jurisdiction : Airspace

Jurisdiction : Airspace

เขตอำนาจ : น่านฟ้า

อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือน่านฟ้าที่อยู่เหนือดิน แดนของตน เขตอำนาจเหนือน่านฟ้าของชาตินี้ได้รับการรับรองจากอนุสัญญาชิคาโกว่าด้วยการ บินพลเรือนระหว่างประเทศ (ค.ศ. 1944) แต่ก็ถูกจำกัดโดยสนธิสัญญาทวิภาคี และพหุภาคีที่รัฐอาจจะเป็นภาคีได้ การประชุมที่ชิคาโกได้ทำการจัดตั้งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) ขึ้นมาเพื่อให้เป็นไปตามหลักการของอนุสัญญาและพัฒนาหลักเกณฑ์การสัญจรทาง อากาศระหว่างประเทศ เสรีภาพของการสัญจรทางอากาศอันเป็นหลักการทั่วไปมีอยู่เฉพาะเหนือทะเลหลวง และเหนือผิวโลกเฉพาะส่วนที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐใด ๆ เช่น ทวีปแอนตาร์กติกา เป็นต้น เครื่องบินของทางการทหารและของรัฐอื่น ๆ ถือว่ามิใช่ยานพาหนะปกตินั้น จะต้องได้รับมอบอำนาจพิเศษก่อนจึงจะใช้น่านฟ้าของรัฐอื่นได้

ความสำคัญ เขตอำนาจเหนือน่านฟ้าแห่งชาติเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเพราะ เทคโนโลยีได้ทำให้การพาณิชย์ทางอากาศทำได้อย่างรวดเร็วและทำได้ในปริมาณที่ เพิ่มมากยิ่งขึ้น ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขตอำนาจเหนือน่านฟ้าแห่งชาติมี 2 ทฤษฎี คือ (1) ทฤษฎีที่ให้เสรีภาพในการสัญจรทางอากาศ และ (2) ทฤษฎีที่ให้รัฐชาติทำการควบคุมการสัญจรทางอากาศ เมื่อได้มีการประดิษฐ์เครื่องบินทิ้งระเบิดและมีเครื่องตรวจจับทางอากาศที่ มีประสิทธิผลขึ้นมาแล้ว จึงได้มีการยอมรับกันโดยทั่วไปให้รัฐชาติทำการควบคุมการสัญจรทางอากาศนี้ แต่การพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น มาทำให้เกิดปัญหาทางด้านปฏิบัติว่าอำนาจอธิปไตยของชาติเหนือน่านฟ้านี้จะให้ เหนือขึ้นไปไกลได้ขนาดใด เมื่อมีการส่งจรวด อาวุธปล่อย ดาวเทียม และยานอวกาศไปกลับโลกได้แล้ว ก็เป็นการเปิดศักราชใหม่ให้มีการเจรจาเพื่อพัฒนากฎหมายว่าด้วยอวกาศระหว่างประเทศ

Jurisdiction : Annexation

Jurisdiction : Annexation

เขตอำนาจ : การผนวกดินแดน

การได้ดินแดนเพิ่มโดยการประกาศของรัฐที่ได้ดินแดนว่า ตนได้ขยายอำนาจอธิปไตยและจะใช้เขตอำนาจศาลเหนือพื้นที่ที่ผนวกเข้ามานั้น

ความสำคัญ การขยายอำนาจอธิปไตยโดยการผนวกดินแดนนี้ อาจจะใช้ข้ออ้างต่าง ๆ เช่น (1) เป็นดินแดนที่ตนค้นพบเอง (2) เป็นดินแดนในความยึดครองของตนเอง หรือ (3) เป็นดินแดนที่ตนเองเข้าครอบครองมานานอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี ค.ศ. 1938 ประเทศเยอรมนีประกาศผนวกประเทศออสเตรียโดยอ้างถึงพฤติกรรมของรัฐบาลออสเตรีย ว่าเป็นเหตุให้ต้องทำการเปลี่ยนแปลงออสเตรียมาเป็นรัฐหนึ่งของอาณาจักรไรช์ ของเยอรมัน การผนวกดินแดนอาจจะไม่ได้รับการต่อต้านจากฝ่ายที่สามก็ได้ ตัวอย่างเช่น กรณีของการผนวกเกาะแจนมาเยินโดยนอร์เวย์เมื่อปี ค.ศ. 1920 แต่การประกาศผนวกดินแดนอาจได้รับการประท้วงและอ้างสิทธิ์แย้งขึ้นมาได้ ตัวอย่างเช่น กรณีเกี่ยวกับสถานภาพทางกฎหมายของกรีนแลนด์ตะวันออกเมื่อปี ค.ศ. 1933 ซึ่งในกรณีนี้ผู้อ้างสิทธ์ทั้งสองฝ่ายคือเดนมาร์กและนอร์เวย์ได้นำเรื่อง เสนอให้ ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศได้พิจารณา ซึ่งศาลฯ ได้ตัดสินให้ฝ่ายเดนมาร์กเป็นผู้ชนะคดี

บทความที่ได้รับความนิยม